หลายคนคงเคยได้ยิน “นาฬิกาชีวิต” กันมาสักพักหนึ่งแล้วแต่ไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วคืออะไร และยังคงสับสนว่าในแต่ละช่วงเวลาร่างกายของเราอวัยวะใดบ้างทำงานได้ดี หรือควรหลีกเลี่ยงอะไร คำว่า Biological Clock นาฬิการ่างกายถือเป็นศาสตร์ของแพทย์แผนจีนโบราณที่จะบอกว่าในแต่ละข่วงเวลาของวัน สำคัญต่อวัยวะต่างๆอย่างไร ซึ่งศาสตร์นี้เป็นศาสตร์ที่แพทย์สมัยใหม่ได้นำมาใช้ปรับในการสร้างสมดุลให้แก่ร่างกายเช่นกัน เราลองมาดูว่าในแต่ละวัน อวัยวะต่างๆมีบทบทเวลาไหนบ้างโดยเฉพาะมนุษย์กลางคืน ปรับมุมมอง เปลี่ยนความคิดด้วย  “นาฬิกาชีวิต”  กันดีกว่า จะมีอะไรบ้างวันนี้ The Na Thailand มีสาระน่ารู้มาฝากกันค่ะ

ปรับมุมมอง เปลี่ยนความคิดด้วย “นาฬิกาชีวิต” กันดีกว่า

ในปัจจุบันอาชีพแต่ละคนมีอาชีพที่แตกต่างกันออกไป ทั้งงานกลางวัน งานกลางคืน งานที่ต้องใช้สมองและร่างกายทั้งวัน ฯลฯ หลากหลายอาชีพร่างกายทำงานสวนทางกับนาฬิกาชีวิตตามธรรมชาติที่ควรจะเป็นทำให้คนที่ทำงานกลางคืนเหล่านี้เสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆได้มากกว่าคนปกติตั้งแต่เล็กน้อยจนเกิดอาการที่รุนแรง

โดยสิ่งที่ควบคุม “นาฬิกาชีวิต” จะเป็นกลุ่มเซลล์ประสาทที่ชื่อว่า Suprachiasmatic Nucleus  ในสมอง โดยอาศัยใกล้ระบบประสาทบริเวณตาที่รับแสงแปลข้อมูล ที่อยู่ใกล้ตาเพื่อว่าจะได้รับรู้การเปลี่ยนแปลงของแสงไปปรับสมดุลของร่างกาย  การทำงานของนาฬิกาชีวิตจะมีผลต่อร่างกาย 3 ระบบด้วยกัน คือ 

1. ควบคุมสมดุลฮอร์โมน 

2. ระบบย่อยอาหาร

3. ระบบควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย

หลักการดู “นาฬิกาชีวิต”

คือ ดูว่าอวัยวะต่างๆมีพลังงานมากที่สุดในเวลาใด และควรปรับพฤติกรรมอย่างไรเพื่อทำให้เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆให้ตรงกับการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกายนั่นเอง

ช่วงเวลา 7.00 – 9.00 น. กระเพาะอาหาร 

เป็นเวลาที่กระเพาะอาหารมีพลังงานมาก เป็นช่วงที่เหมาะกับการทานอาหารในปริมาณมาก เพราะร่างกายพร้อมในการย่อย อาหารอุ่นๆจะช่วยให้ร่างกายย่อยได้ง่ายกว่าอาหารประเภทอื่นๆ  นอกจากนี้กิจกรรมที่ควรทำคือ “การเดิน”   จะช่วยทำให้ร่างกายสดชื่นทั้งวัน

ช่วงเวลา 9.00 – 11.00 น. ตับอ่อน และม้าม

ช่วงเวลาที่อวัยวะภายในร่างกายทำงานได้ดีโดยเฉพาะตับอ่อนและม้ามทำงานได้ดี พร้อมในการย่อยอาหาร ร่างกายเหมาะกับการทำงานหรือใช้พลังงานได้ได้ในช่วงนี้

ช่วงเวลา 11.00 – 13.00 น.หัวใจ

ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่หัวใจมีพลังงาน ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดและปั้มพลังงานและสารอาหารต่างๆไปให้อวัยวะต่างๆในร่างกาย โดยเป็นช่วงที่ระบบหมุนเวียนโลหิตทำงานได้ดีกว่าช่วงอื่นๆ ในช่วงเวลานี้เหมาะแก่การทานอาหารมื้อกลางวันแต่ไม่หนักมากเพราะถ้ากินปริมาณที่มากจนเกินไปอาจทำให่ง่วงในช่วงบ่ายนั่นเอง

ช่วงเวลา 13.00-15.00 น.ลำไส้เล็ก

ทำงานในการดูดซึมสารอาหารต่างๆ ช่วงนี้ร่างกายรู้อ่อนเพลียลง เหมาะแก่การ งีบหลับในช่วงสั้นๆเพื่อให้ร่างกายในหลับพักผ่อนตื่นขึ้นมาทำให้ร่างกายสดชื่นนั่นเอง

ช่วงเวลา 15.00 – 17.00 น. กระเพาะปัสสาวะ

ช่วงที่ร่างกายขับของเสียแล้วฟื้นฟูพลังงาน ที่ได้จากอาหารให้เรียบร้อย ช่วงนี้เหมาะกับ การทำงานหรือเรียน

ช่วงเวลา 17.00 -19.00 น.  ไต

ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่ไตทำงาน ช่วงเวลาแห่งการสะสมพลังงาน ของร่างกาย และฟื้นฟูไขกระดูก ที่สำคัญต่อระบบการสร้างเลือด และระบบสมดุลของการทำงานของไต ยังเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนทีทำให้เกิดการเครียด ช่วงเวลานี้เป็นเวลาที่จะเหมาะแก่การใช้พลังงานนั่นคือ “การออกกำลังกาย” เพราะร่างกายจะเผาพลาญได้ดีนั่นเอง

ช่วงเวลา 19.00 – 21.00 น. ระบบหมุนเวียนเลือด 

โดยอวัยวะที่สำคัญคือเยื่อหุ้มหัวใจ ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะกับการอ่านหนังสือ และเหมาะกับการมี Sex เพราะเป็นบรรยากาศที่สงบระบบหมุนเวียนเลือดทำหน้าที่สูบฉีดเลือดแดงไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ช่วงเวลา 21.00 – 23.00 น. ระบบต่อมไร้ท่อ 

ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่จะมีการรปรับสมดุลระบบต่างๆของร่างกายเช่น ระบบน้ำตาลในเลือด เป็นต้น เวลานี้เหมาะแก่การนอน

ช่วงเวลา 23.00 – 01.00 น.ถุงน้ำดี

 ช่วงเวลานี้ร่างกายจะปล่อยน้ำย่อยไขมันทำงาน สร้างเซลล์เม็ดเลือด ซ่อมเซลล์ที่สึกหรอตามส่วนต่างๆของร่างกาย

ช่วงเวลา 1.00 – 3.00 น. ตับ

ซึ่งเป็นช่วงที่มีความสำคัญมากเพราะช่วงเวลานี้ตับจะมีพลังงานมากที่สุด ตับเป็นที่ที่สำคัญสำหรับขับของเสียต่างๆออกจากร่างกาย และฟื้นฟูสภาพร่างกายที่ใหญ่ที่สุด ดังนั้นเวลานี้จึงเป็นเวลาที่หลับลึกที่สุดและเราควรให้ความสำคัญกับช่วงเวลานี้มากๆ

ช่วงเวลา 3.00 – 5.00 น.ปอด

 ช่วงเวลานี้เป็นช่วงการทำงานของปอด ช่วงที่ขับของเสียออกจากปอด และเป็นช่วงที่ควรหลับลึกอีกช่วง

ช่วงเวลา 5.00 – 7.00 น. ลำไส้ใหญ่

ถือ เป็นช่วงที่ขับถ่ายหลังจากที่ตับและปอดขับของเสียมาแล้ว ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่เหมาะกับการทำสมาธิที่สุด เพราะเป็นช่วงที่ร่างการสดชื่น

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ประโยชน์ของการเรียนรู้นาฬิกาชีวิต จะทำให้เราสามารถดูแลสุขภาพให้สมดุล แก้ปัญหาการนอนไม่หลับ ภาวะเครียด ภาวะทางอารมณ์ต่าง ซึ่งมีประโยช์มากมายต่อร่างกายของเรา เราควรหันมาปรับมุมมอง เปลี่ยนความคิดด้วย นาฬิกาชีวิต กันดีกว่า เพื่อให้ทั้งสุขภาพร่างกาย สุขภาพใจ ของเราดีขึ้นต่อไป

บทความน่าสนใจ

https://bit.ly/3xOyFXz