จุลินทรีย์โพรไบโอติกเป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็ก จัดอยู่ในกลุ่มชนิดดีที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย มีคุณสมบัติทนต่อกรดและด่าง และสามารถจับเยื่อบุผิวลำไส้ได้ดี เมื่อรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมก็จะมีส่วนช่วยส่งเสริมสุขภาพ ปรับสมดุลระบบทางเดินอาหารให้เป็นปกติ กระตุ้นการย่อยอาหารด้วยการสร้างเอนไซม์หลายชนิด และสังเคราะห์วิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายได้

จุลินทรีย์โพรไบโอติกมีประโยชน์อะไรบ้าง?

  • ป้องกันและบรรเทาอาการท้องผูกท้องเสีย

ศ.นพ.สุเทพ กลชาญวิทย์ สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ศึกษาเก็บสถิติพบว่า 24 เปอร์เซ็นต์ ของคนไทยคิดว่าตนเองมีปัญหาท้องผูก 8 เปอร์เซ็นต์ประสบปัญหาในการเบ่งอุจจาระ และ 3 เปอร์เซ็นต์ มีปัญหาขับถ่ายได้น้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งการรับประทานจุลินทรีย์โพรไบโอติกกลุ่มแลคโตบาซิลลัสที่มีประโยชน์ในการปรับสมดุลลำไส้ ลดปริมาณจุลชีพในลำไส้ ทำให้ระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายทำงานได้ปกติ บรรเทาอาการท้องผูกและท้องเสียได้

  • ดีต่อคนที่มีปัญหาด้านลำไส้

แบคทีเรียและจุลินทรีย์ชนิดก่อโรคในลำไส้เป็นสาเหตุสำคัญของการป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ ยิ่งหากเป็นกลุ่มคนที่ชื่นชอบการรับประทานเนื้อสัตว์และไขมันจำนวนมาก โดยการรับประทานจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่มีประโยชน์เพิ่มเข้าไปจะช่วยเปลี่ยนสภาพแบคทีเรียในลำไส้ ลดอาการอักเสบ รวมถึงป้องกันไม่ให้เกิดสารพิษกลุ่มไนโตรเจนและอะโรมาติคเอมีนที่มักปะปนมากับจุลินทรีย์ชนิดก่อโรคได้ ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ และโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารได้

  • ส่งเสริมการทำงานของสมอง

การศึกษาจาก Harvard Medical School ได้ตีพิมพ์ผลการวิจัยเกี่ยวกับจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่มีประโยชน์สามารถช่วยในการปรับสมดุลทางด้านอารมณ์และเพิ่มความจำได้ โดยทำการทดลองในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่ทานอาหารโพรไบโอติกติดต่อกัน 12 สัปดาห์ พบว่ามีความจำและสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ทาน เมื่อต้องเจอกับสถานการณ์กระตุ้นอารมณ์โกรธและโมโห

  • เสริมสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายแบบองค์รวม

จำไว้เสมอว่าการมีภูมิคุ้มกันร่างกายและสุขภาพดีแบบองค์รวม จะต้องดูแลจากภายในด้วยการรักษาสมดุลจุลินทรีย์ชนิดดีและระบบการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ การรับประทานจุลินทรีย์โพรไบโอติกจึงเป็นประโยชน์ในการเพิ่มเติมจุลินทรีย์ชนิดดีที่ช่วยปรับสมดุลภูมิคุ้มกันของร่างกาย สร้างสารป้องกันไม่ให้เชื้อโรคไปจับที่เยื่อบุผิวลำไส้ และรวมถึงควบคุมรักษาสมดุลในระบบย่อยอาหาร

  • ช่วยเรื่องระบบทางเดินปัสสาวะ

จุลินทรีย์โพรไบโอติก โดยเฉพาะสายพันธุ์แลคโตบาซิลลัส มีประโยชน์ช่วยยับยั้งและลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียบริเวณทางเดินปัสสาวะส่วนปลาย หากรับประทานอย่างเพียงก็จะช่วยลดการอักเสบติดเชื้อโรคปัสสาวะ และป้องกันปัญหาการติดเชื้อในช่องคลอดและปากช่องคลอดของผู้หญิงได้ด้วย อันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

  • โพรไบโอติกช่วยลดน้ำหนักได้

หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน แม้ว่าจุลินทรีย์โพรไบโอติกไม่ได้มีประโยชน์ต่อการลดน้ำหนักโดยตรง แต่โพรไบโอติกมีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ยับยั้งการดูดซึมของไขมันจากอาหาร กระตุ้นการดูดซึมสารอาหารที่ดี มีส่วนสำคัญในการย่อยโปรตีน อีกทั้งยังกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการสลายไขมันจึงเป็นผลดีต่อผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก รักษาหุ่นและดูแลสุขภาพควบคู่ไปด้วย

  • ฟื้นฟูร่างกายหลังติดเชื้อและรักษาอาการ Long Covid

นายแพทย์ สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อดีตอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าจุลินทรีย์โพรไบโอติกมีประโยชน์สำคัญ ช่วยฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาทำงานเป็นปกติได้หลังจากติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมถึงยังรักษาอาการของ Long Covid ได้อีกด้วย โดยเฉพาะจุลินทรีย์โพรไบโอติก สายพันธุ์บิฟิโดแบคทีเรียม สายพันธุ์บิฟิโดแบคทีเรียม แอนิมาลิส สายพันธุ์แลคโตแบซิลลัส เคซิไอ และสายพันธุ์แลคโตแบซิลลัส แอซิโดฟิลลัส นับว่ามีส่วนช่วยกระตุ้นเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันร่างกายได้เป็นอย่างดี

ทำไมถึงควรทานจุลินทรีย์โพรไบโอติกเสริมเพื่อรับประโยชน์?

โดยปกติแล้วจุลินทรีย์โพรไบโอติกจะมีอยู่ในร่างกายของเราอยู่แล้ว แต่ด้วยพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้องไม่ดูแลสุขภาพ ทำให้มีจุลินทรีย์โพรไบโอติกในร่างกายไม่เพียงพอต่อประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ ดังนั้นผู้ที่ต้องการดูแลรักษาสุขภาพจึงควรรับประทานอาหารที่มีจุลินทรีย์โพรไบโอติกเพิ่มเข้าไป เช่น ผลิตภัณฑ์ประเภทนมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ และอาหารเสริมโพรไบโอติก เป็นต้น สิ่งสำคัญคือก่อนตัดสินใจเลือกซื้อควรอ่านฉลากข้างขวดหรือข้างถ้วยผลิตภัณฑ์ให้ดี เพราะแต่ละชนิดจะมีจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในแต่ละส่วนไม่เหมือนกัน หากเป็นไปได้แนะนำให้เลือกทานที่มีหลากหลายสายพันธุ์ก็จะเป็นผลดีต่อร่างกายมากที่สุด

การรับประทานจุลินทรีย์โพรไบโอติกให้เกิดประโยชน์และปลอดภัย

การรับประทานจุลินทรีย์โพรไบโอติกให้เกิดประโยชน์สูงสุด ควรต้องรับประทานควบคู่กับจุลินทรีย์พรีไบโอติก เพราะมีส่วนช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของโพรไบโอติก และกระตุ้นการผลิตกรดไขมันสายสั้น ทำให้โพรไบโอติกทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จากงานวิจัยของ นส. วิรัชนีย์ แก่นแสนดี นักวิจัยฝ่ายเครื่องมือและวิจัยทางวิทยาศาสตร์ สถาบันและพัฒนาแห่ง มก. ม. เกษตรศาสตร์ ยังได้กล่าวอีกว่า ไม่เพียงแต่จุลินทรีย์โพรไบโอติกจะมีประโยชน์ในการบรรเทาอาการท้องผูกและยับยั้งจุลินทรีย์ชนิดก่อโรคเท่านั้น แต่พรีไบโอติกก็เหมือนกัน เพราะเป็นสารที่ร่างกายไม่สามารถย่อยได้เอง จึงทำหน้าที่เสมือนยาระบายที่ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายขับของเสียออกจากร่างกายอีกด้วย ติดต่อเราเลยที่