หลายคนคงเคยได้ยิน “นาฬิกาชีวิต” กันมาสักพักหนึ่งแล้วแต่ไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วคืออะไร และยังคงสับสนว่าในแต่ละช่วงเวลาร่างกายของเราอวัยวะใดบ้างทำงานได้ดี หรือควรหลีกเลี่ยงอะไร คำว่า Biological Clock นาฬิการ่างกายถือเป็นศาสตร์ของแพทย์แผนจีนโบราณที่จะบอกว่าในแต่ละข่วงเวลาของวัน สำคัญต่อวัยวะต่างๆอย่างไร ซึ่งศาสตร์นี้เป็นศาสตร์ที่แพทย์สมัยใหม่ได้นำมาใช้ปรับในการสร้างสมดุลให้แก่ร่างกายเช่นกัน เราลองมาดูว่าในแต่ละวัน อวัยวะต่างๆมีบทบทเวลาไหนบ้างโดยเฉพาะมนุษย์กลางคืน ปรับมุมมอง เปลี่ยนความคิดด้วย  “นาฬิกาชีวิต”  กันดีกว่า จะมีอะไรบ้างวันนี้ The Na Thailand มีสาระน่ารู้มาฝากกันค่ะ

ปรับมุมมอง เปลี่ยนความคิดด้วย “นาฬิกาชีวิต” กันดีกว่า

ในปัจจุบันอาชีพแต่ละคนมีอาชีพที่แตกต่างกันออกไป ทั้งงานกลางวัน งานกลางคืน งานที่ต้องใช้สมองและร่างกายทั้งวัน ฯลฯ หลากหลายอาชีพร่างกายทำงานสวนทางกับนาฬิกาชีวิตตามธรรมชาติที่ควรจะเป็นทำให้คนที่ทำงานกลางคืนเหล่านี้เสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆได้มากกว่าคนปกติตั้งแต่เล็กน้อยจนเกิดอาการที่รุนแรง

โดยสิ่งที่ควบคุม “นาฬิกาชีวิต” จะเป็นกลุ่มเซลล์ประสาทที่ชื่อว่า Suprachiasmatic Nucleus  ในสมอง โดยอาศัยใกล้ระบบประสาทบริเวณตาที่รับแสงแปลข้อมูล ที่อยู่ใกล้ตาเพื่อว่าจะได้รับรู้การเปลี่ยนแปลงของแสงไปปรับสมดุลของร่างกาย  การทำงานของนาฬิกาชีวิตจะมีผลต่อร่างกาย 3 ระบบด้วยกัน คือ 

1. ควบคุมสมดุลฮอร์โมน 

2. ระบบย่อยอาหาร

3. ระบบควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย

หลักการดู “นาฬิกาชีวิต”

คือ ดูว่าอวัยวะต่างๆมีพลังงานมากที่สุดในเวลาใด และควรปรับพฤติกรรมอย่างไรเพื่อทำให้เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆให้ตรงกับการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกายนั่นเอง

ช่วงเวลา 7.00 – 9.00 น. กระเพาะอาหาร 

เป็นเวลาที่กระเพาะอาหารมีพลังงานมาก เป็นช่วงที่เหมาะกับการทานอาหารในปริมาณมาก เพราะร่างกายพร้อมในการย่อย อาหารอุ่นๆจะช่วยให้ร่างกายย่อยได้ง่ายกว่าอาหารประเภทอื่นๆ  นอกจากนี้กิจกรรมที่ควรทำคือ “การเดิน”   จะช่วยทำให้ร่างกายสดชื่นทั้งวัน

ช่วงเวลา 9.00 – 11.00 น. ตับอ่อน และม้าม

ช่วงเวลาที่อวัยวะภายในร่างกายทำงานได้ดีโดยเฉพาะตับอ่อนและม้ามทำงานได้ดี พร้อมในการย่อยอาหาร ร่างกายเหมาะกับการทำงานหรือใช้พลังงานได้ได้ในช่วงนี้

ช่วงเวลา 11.00 – 13.00 น.หัวใจ

ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่หัวใจมีพลังงาน ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดและปั้มพลังงานและสารอาหารต่างๆไปให้อวัยวะต่างๆในร่างกาย โดยเป็นช่วงที่ระบบหมุนเวียนโลหิตทำงานได้ดีกว่าช่วงอื่นๆ ในช่วงเวลานี้เหมาะแก่การทานอาหารมื้อกลางวันแต่ไม่หนักมากเพราะถ้ากินปริมาณที่มากจนเกินไปอาจทำให่ง่วงในช่วงบ่ายนั่นเอง

ช่วงเวลา 13.00-15.00 น.ลำไส้เล็ก

ทำงานในการดูดซึมสารอาหารต่างๆ ช่วงนี้ร่างกายรู้อ่อนเพลียลง เหมาะแก่การ งีบหลับในช่วงสั้นๆเพื่อให้ร่างกายในหลับพักผ่อนตื่นขึ้นมาทำให้ร่างกายสดชื่นนั่นเอง

ช่วงเวลา 15.00 – 17.00 น. กระเพาะปัสสาวะ

ช่วงที่ร่างกายขับของเสียแล้วฟื้นฟูพลังงาน ที่ได้จากอาหารให้เรียบร้อย ช่วงนี้เหมาะกับ การทำงานหรือเรียน

ช่วงเวลา 17.00 -19.00 น.  ไต

ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่ไตทำงาน ช่วงเวลาแห่งการสะสมพลังงาน ของร่างกาย และฟื้นฟูไขกระดูก ที่สำคัญต่อระบบการสร้างเลือด และระบบสมดุลของการทำงานของไต ยังเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนทีทำให้เกิดการเครียด ช่วงเวลานี้เป็นเวลาที่จะเหมาะแก่การใช้พลังงานนั่นคือ “การออกกำลังกาย” เพราะร่างกายจะเผาพลาญได้ดีนั่นเอง

ช่วงเวลา 19.00 – 21.00 น. ระบบหมุนเวียนเลือด 

โดยอวัยวะที่สำคัญคือเยื่อหุ้มหัวใจ ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะกับการอ่านหนังสือ และเหมาะกับการมี Sex เพราะเป็นบรรยากาศที่สงบระบบหมุนเวียนเลือดทำหน้าที่สูบฉีดเลือดแดงไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ช่วงเวลา 21.00 – 23.00 น. ระบบต่อมไร้ท่อ 

ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่จะมีการรปรับสมดุลระบบต่างๆของร่างกายเช่น ระบบน้ำตาลในเลือด เป็นต้น เวลานี้เหมาะแก่การนอน

ช่วงเวลา 23.00 – 01.00 น.ถุงน้ำดี

 ช่วงเวลานี้ร่างกายจะปล่อยน้ำย่อยไขมันทำงาน สร้างเซลล์เม็ดเลือด ซ่อมเซลล์ที่สึกหรอตามส่วนต่างๆของร่างกาย

ช่วงเวลา 1.00 – 3.00 น. ตับ

ซึ่งเป็นช่วงที่มีความสำคัญมากเพราะช่วงเวลานี้ตับจะมีพลังงานมากที่สุด ตับเป็นที่ที่สำคัญสำหรับขับของเสียต่างๆออกจากร่างกาย และฟื้นฟูสภาพร่างกายที่ใหญ่ที่สุด ดังนั้นเวลานี้จึงเป็นเวลาที่หลับลึกที่สุดและเราควรให้ความสำคัญกับช่วงเวลานี้มากๆ

ช่วงเวลา 3.00 – 5.00 น.ปอด

 ช่วงเวลานี้เป็นช่วงการทำงานของปอด ช่วงที่ขับของเสียออกจากปอด และเป็นช่วงที่ควรหลับลึกอีกช่วง

ช่วงเวลา 5.00 – 7.00 น. ลำไส้ใหญ่

ถือ เป็นช่วงที่ขับถ่ายหลังจากที่ตับและปอดขับของเสียมาแล้ว ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่เหมาะกับการทำสมาธิที่สุด เพราะเป็นช่วงที่ร่างการสดชื่น

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ประโยชน์ของการเรียนรู้นาฬิกาชีวิต จะทำให้เราสามารถดูแลสุขภาพให้สมดุล แก้ปัญหาการนอนไม่หลับ ภาวะเครียด ภาวะทางอารมณ์ต่าง ซึ่งมีประโยช์มากมายต่อร่างกายของเรา เราควรหันมาปรับมุมมอง เปลี่ยนความคิดด้วย นาฬิกาชีวิต กันดีกว่า เพื่อให้ทั้งสุขภาพร่างกาย สุขภาพใจ ของเราดีขึ้นต่อไป

บทความน่าสนใจ

https://bit.ly/3xOyFXz

The NA
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.