เคยไหม ที่ยามค่ำคืนคุณพยายามจะข่มตาหลับสักเท่าไร มันก็ไม่ยอมหลับให้สักที ใจและร่างกายอยากจะนอนหลับพักผ่อนอย่างสบาย แต่สมองยังคงสั่งการไม่ยอมให้หลับ นี่คือความทุกข์ทรมานอย่างหนึ่งของคนที่มีอาการนอนไม่หลับ หรือเป็นโรคนอนไม่หลับที่หลาย ๆ คนอาจกำลังเผชิญอยู่

รู้ได้อย่างไร ว่ากำลังเป็นโรคนอนไม่หลับ ?

            เราจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองมีอาการนอนไม่หลับ หรือเข้าขั้นเป็นโรคนอนไม่หลับหรือไม่ ลองสังเกตอาการตนเอง ดังต่อไปนี้

1. ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ขาดพลังในการใช้ชีวิต ง่วงนอนตลอดเวลา

2. ตื่นสาย ไม่อยากตื่น งัวเงีย มึนงง

3. ไม่มีสมาธิในการทำงาน ความจำไม่ดี ความสามารถในการทำงานลดลง

4. หงุดหงิด ฉุนเฉียว อารมณ์ไม่ดี เบื่อหน่าย เซ็ง ท้อแท้ หดหู่ หมดกำลังใจ

5. วิตกกังวล กลัวนอนไม่หลับ

6. ตื่นกลางดึก ลุกเข้าห้องน้ำ หลับต่อไม่ได้ หรือหลับต่อยาก

7. กลางวันไม่มีแรง ง่วงนอนบ่อย กลางคืนนอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิท

รู้ไหม…ทำไมนอนไม่หลับ ?

หลายคนที่มีอาการนอนไม่หลับอยู่บ่อย ๆ หรือเป็นโรคนอนไม่หลับ อาจสงสัยและกำลังค้นหาคำตอบ ซึ่งอาการนอนไม่หลับนั้นอาจมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ได้แก่

1. ปัญหาจากสภาวะแวดล้อมในห้องนอน ที่ทำให้หลับยากหรือหลับไม่สนิท เช่น ห้องแคบเกินไปหรือกว้างเกินไป มีแสงสว่างจ้าเกินไป เป็นต้น

2. สภาวะทางอารมณ์และจิตใจ เช่น อาจมีภาวะเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า หรือกดดัน ฯลฯ

3. ปัญหาสุขภาพ หรือการเจ็บไข้ได้ป่วย เช่น เป็นโรคกรดไหลย้อน ภาวะปวด เหนื่อย ภาวะหมดประจำเดือนในผู้หญิง เป็นต้น

4. ร่างกายมีปริมาณแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนสูงเกินไป เช่น อาจดื่มเหล้า เบียร์ หรือกาแฟ จนทำให้หลับยาก

5. ภาวะความผิดปกติของการหลับ เช่น ภาวะขาอยู่ไม่สุข การนอนละเมอ ฝันร้าย นอนกรน เป็นต้น

6. ประกอบอาชีพที่ทำให้มีเวลานอนไม่แน่นอน เช่น หมอ พยาบาล ตำรวจ รปภ. พนักงานกะ ฯลฯ

7. ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด ที่ส่งผลต่อสมอง ซึ่งอาจทำให้นอนไม่หลับเนื่องจากสมองเป็นตัวควบคุมเรื่องการนอน เช่น ยารักษาอาการซึมเศร้า ยารักษาโรคทางจิต ยารักษาโรคอัลไซเมอร์ ยาต้านไวรัส เป็นต้น

8. การกินมากเกินไปหรือการอดอาหารจนท้องว่าง ก็สามารถส่งผลต่อการนอนได้ และการรับประทานอาหารบางชนิดก่อนนอนก็อาจทำให้หลับยาก เช่นช็อกโกแลต ชีส พริก กระเทียม หอมใหญ่

9. การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขณะกำลังจะนอน เช่น เปิดทีวีดูขณะนอน เล่นสมาร์ทโฟนขณะนอน

ปัจจัยเหล่านี้ล้วนทำให้คุณนอนหลับยาก หลับไม่สนิท หรือนอนไม่หลับ ซึ่งส่งผลต่อระดับของฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ที่เป็นฮอร์โมนเกี่ยวกับความเครียด โดยปกติคนเราจะมีการหลั่งของฮอร์โมนคอร์ติซอลปริมาณมากในช่วงเช้า เพื่อให้ร่างกายเตรียมพร้อมสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ และจะค่อย ๆ ลดลงในช่วงกลางคืนเพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อน แต่เมื่อใดที่ร่างกายเกิดความเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอหรือนอนไม่เป็นเวลา จะมีการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลผิดปกติและผิดช่วงเวลาทำให้ร่างกายไม่สดชื่น  และนอนไม่หลับในที่สุด

อาการนอนไม่หลับส่งผลเสียและอันตรายต่อร่างกายอย่างไรบ้าง ?

            การนอนไม่หลับทำให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ จึงส่งผลโดยตรงต่อร่างกายและสมอง ทำให้ขาดความสดชื่น อ่อนเพลีย การทำงานของสมองแย่ลง และยังส่งผลกระทบต่อสภาวะอารมณ์ ทำให้หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย ขาดสมาธิในการทำงาน ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง และยังอาจทำให้เกิดโรคภัยภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพ ดังนี้

– เสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ

– อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนของระบบหัวใจและหลอดเลือด

– ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นจากการทำงานเพิ่มขึ้นของระบบประสาทซิมพาเทติก และการทำงานที่ลดลงของระบบประสาทพาราซิมพาเทติก

– เป็นปัจจัยทำให้เป็นโรคซึมเศร้า และมีความวิตกกังวลได้ในทุกๆ เรื่อง

– ส่งผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด

โรคนอนไม่หลับรักษาได้

            นอกจากการรักษาด้วยยาแล้ว อาการนอนไม่หลับ หรือโรคนอนไม่หลับยังสามารถเยียวยาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือปฏิบัติตามวิธีดังต่อไปนี้

                – เข้านอนและตื่นนอนให้ตรงเวลาเป็นประจำ

                – ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

                – สร้างบรรยากาศห้องนอนที่เหมาะสม เงียบสงบ ไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป รวมถึงหลีกเลี่ยงเลี่ยงแสงจ้าในห้องนอนช่วงตอนเย็น

                – ควรหากิจกรรมผ่อนคลายทำก่อนเวลานอนสัก 1 ชั่วโมง เช่น ฟังเพลงสบาย ๆ อ่านหนังสือ นั่งสมาธิ

                – งดกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกตื่นเต้นก่อนนอน เช่น เล่นเกม เล่นโทรศัพท์ ดูโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ที่มีความตื่นเต้น

                – ไม่ควรดื่มชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน อย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนการนอน และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนเข้านอน รวมทั้งไม่ควรดื่มน้ำมากกว่า 1 แก้วก่อนนอน และแนะนำให้ปัสสาวะก่อนเข้านอน

                – ไม่ควรทานอาหารมื้อใหญ่ อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนเข้านอน

                – ไม่ควรงีบหลับหลังเวลาบ่ายสามโมง

                – ระหว่างที่ยังนอนไม่หลับไม่ควรดูนาฬิกา เพราะจะทำให้เกิดความกังวล

                และอีกหนึ่งวิธีที่ปลอดภัยและเห็นผลเร็ว ก็คือ การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อย่าง วิตามิน G9 ที่มีคุณสมบัติช่วยลดความเครียด โดยช่วยปลดปล่อยคลื่นสมองอัลฟา (Alpha Brain Wave) มากขึ้น ลดการปลดปล่อยคลื่นสมองเบต้า (Beta Brain Wave) จึงทำให้ผ่อนคลายและลดความเครียดลง และวิตามิน G9 ยังช่วยให้สมองสามารถควบคุมปริมาณคอร์ติซอล (cortisol) ให้เหมาะสมลดความอ่อนล้าของสมองให้เกิดความสมดุลทางอารมณ์ เมื่อรับประทานแล้วจึงช่วยให้หลับสนิทมากขึ้น ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ตื่นด้วยความสดชื่นไม่อ่อนล้า คุณภาพร่างกายดีขึ้น สิ่งที่ตามมาก็คือคุณภาพของชีวิตที่ดีขึ้น โดยไม่ต้องพึ่งพายานอนหลับ หรือยากล่อมประสาทใด ๆ